ระวังคนภูมิคุ้มกันต่ำเสี่ยงติดเชื้อรา 1,000 เท่า
โรคนี้ติดต่อได้ในสัตว์ เช่น แมว สุนัข ปศุสัตว์ รวมถึงคน แต่การติดต่อระหว่างคนสู่คนเกิดขึ้นได้ยากมากอาจมีอาการป่วยอย่างเฉียบพลันหรืออาจเป็นแบบเรื้อรัง เกิดโรคที่ผิวหนังเป็นตุ่ม หนอง ผื่น แพ้ คัน อาจแสดงอาการสมองอักเสบ อาการอื่นๆ เช่น ตาอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ข้ออักเสบ นอกจากนั้นยังมีรายงานการพบเชื้อไข้หวัดนก (H5N1) ในนกพิราบที่ตกลงมาตายอีกด้วย
สำหรับโรคอื่นๆ อย่างโรคปอดอักเสบ ท้องเสีย แพ้อาการหรือเครียด เนื่องจากหมัดจากนกพิราบ คนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวต่ำ และมักเกิดในต่างประเทศ ส่วนมากจะเกิดกับบุคคลที่มีอาชีพซึ่งเกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับนกพิราบ โดยมีโอกาสสัมผัสกับแหล่งอาศัยและมูลนกได้ง่าย รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันโรคในเด็กและผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคมากกว่าคนปกติถึง 1,000 เท่า โดยเฉพาะโรคจากเชื้อราที่พบในมูลขับถ่ายของนกพิราบ หากต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดนกพิราบควรมีผ้าปิดจมูก และอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังสัมผัสสัตว์ ทำความสะอาดเก็บกวาดมูลนกอย่าให้หมักหมมเพราะจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา
ขณะที่งานวิจัยแนวทางป้องกันการรบกวนจากนกพิราบของกลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ช่วยยืนยันว่า มูลนกพิราบและฝุ่นที่เกิดจากการกระพือปีกก่อให้เกิดมลภาวะด้านกลิ่น และอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน ไม่ว่าจะเป็นตัวไรนก พยาธิ ไวรัสตับอักเสบบี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบเฉียบพลัน ปอดบวม ไข้กาฬหลังแอ่น โรคไข้หวัดนก โรคเชื้อราในปอดจากนก ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Cryptococcosis ซึ่งอาศัยอยู่ตามตัวนก และพบบ่อยที่สุดในนกพิราบ และสิ่งที่น่ากังวล คือ เชื้อราชนิดนี้มีความทนทานต่อยารักษาโรค เราจึงควรหาอุปกรณ์ป้องกันนกพิราบ เพื่อไล่นกพิราบให้ห่างจากบ้านเรา